อิฐมวลเบา ไทคอน
อิฐมวลเบา ไทคอน THAICON(ผลิตภัณฑ์ไทคอนซุเปอร์โปร) คือ คอนกรีตมวลเบาสำหรับก่อผนัง รั้ว แบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ ใช้กระบวนการผลิตขั้นสูงจากเยอรมัน ได้การยอมรับในประเทศชั้นนำทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทย ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เป็นเวลานานกว่า 10 ปีทั้งส่วนงานของภาครัฐและเอกชน อิฐมวลเบาไทคอนซุปเปอร์โปรใช้วัตถุดิบที่หาได้ในประเทศได้แก่ ทราย ปูนซีเมนต์ ปูนขาว น้ำ แร่ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม โดยเป็นวัตถุที่มีคุณภาพเยี่ยม ส่วนผสมทั้งหมดจะผสมในสัดส่วนคงที่ ผ่านกระบวนการตัดด้วยเส้นลวดตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำไปเข้าตู้อบไอน้ำ (AutoClave) ควบคุมอุณหภูมิที่ 180C นานถึง 12-14 ชั่วโมง จึงทำให้มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแกร่งสูงได้สัดส่วนมีขนาดมาตรฐานทุกก้อน ทำให้ก่อผนังได้รวดเร็ว และฉาบได้เรียบเนียนสวยงาม ดูดซับเสียงได้ดี ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกเหมาะสำหรับงานผนังทุกประเภทเมื่อเทียบกับอิฐอื่นๆ
อิฐมวลเบา ราคา โปรโมชั่น ประจำเดือน
-
- เกรด A 7ซม. ราคา 22.75 บาท แถมฟรี 14ก้อน
- เกรด A 7.5ซม. ราคา 23 บาท แถมฟรี 14ก้อน
- เกรด B 7.5 ซม. ราคา 21.25 บาท แถมฟรี 14 ก้อน
- อิฐตัด 50×7.5 ซม. ราคา 16 บาท แถมฟรี 28 ก้อน
- เกรด A 7ซม. ราคา 22.75 บาท แถมฟรี 14ก้อน
ราคาก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%
อิฐมวลเบา ส่งฟรี กรุงเทพและปริมณฑล
ส่งฟรีบางอำเภอ
ชลบุรี, อยุธยา,ฉะเชิงเทรา,สระบุรี,นครนายก
ราคาจังหวัดอื่น โปรดติดต่อสอบถาม
อิฐมวลเบาไทคอนซุปเปอร์โปร มีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่า ได้แก่ น้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่ง อีกทั้งป้องกันความร้อนจากภายนอกได้ดีกว่าทำให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารได้มากขึ้น ขนส่งสะดวก ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว จากคุณสมบัติเด่นดังกล่าว ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแรงงานในการก่อสร้างและไม่มีสารพิษหรือสารอินทรีย์ตกค้างช่วยอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
ขนาด (cm.) | น้ำหนัก (kg.) | เต็มรถ6ล้อ | แถม |
---|---|---|---|
20x60x7 | 6.8 | 1400 | 14 |
20x60x7.5 | 7.4 | 1330 | 13 |
20x60x9 | 8.5 | 980 | 10 |
20x60x10 | 8.58 | 980 | 10 |
20x60x12.5 | 10.73 | 770 | 8 |
20x60x14 | 13 | 600 | 3 |
20x60x17.5 | 15.02 | 525 | 2 |
20x60x20 | 17.16 | 450 | 2 |
จำนวน การใช้งาน 8.33 ก้อน/ตร.ม.
เปรียบเทียบ อิฐมวลเบา เกรดเอ และ เกรดบี
Q : อิฐมวลเบาเกรดเอ และ เกรดบี ต่างกันอย่างไร
A : อิฐมวลเบาเกรด บี ก็คือ ตัวคุณภาพเกรดเอ ที่ผลิตออกมาแล้ว บิ่นมุม หักมุม สภาพไม่สวย
ข้อดีของการใช้อิฐมวลเบา
-
- ไม่อบความร้อน และมีรูพุนทำให้มีอากาศอยู่ภายใน ดูดซับเสียงได้ดี ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก
- รับแรงกดได้ดีกว่าอิฐมอญ
- มีขนาดน้ำหนักมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทำให้ก่อฉาบได้รวดเร็วและสวยงาม ทั้งแข็งแกร่ง เจาะได้แขวนได้
- ใช้จำนวนการก่อ 8.33 ก้อน/1 ตร.ม.
- ใช้ปูนก่อมวลเบา 100ก้อน/1ถุง ใช้ปูนฉาบ 100ก้อน/5ถุง
เปรียบเทียบคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมระหว่าง อิฐมวลเบากับอิฐมอญ
รายละเอียด | อิฐมวลเบา | อิฐมอญ |
---|---|---|
อัตราการรับแรงอัด กก./ตรม | 40-50 กก./ตรม แข็งแรงกว่า 2-3 เท่า |
20 กก./ตรม คุณสมบัติไม่แน่นอน |
อัตราการดูดกลืนน้ำ(%) | 30*35% สามารถใช้กับปูนฉาบสำเร็จได้ | 12 – 15% |
อัตราการทนไฟไหม้(ชั่วโมง) | 4.30ชั่วโมง มีความปลอดภัยสูง | ไม่เกิน1.5ชั่วโมง |
ประวัติความเป็นมาของอิฐมวลเบาในประเทศ
ก้าวสำคัญของการริเริ่มผลิตคอนกรีตมวลาเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าการนำเอาวัสดุที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ ที่มีความสามารถในการทำงานได้ดีกว่าเดิม เช่น มีความแข็งแกร่งน้ำหนักเบา ใช้งานได้นานและสะดวก
- ปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) ประเทศสเปน
MICHACLIS ได้คิดค้นวัสดุก่อสร้างชนิดแรกที่ใช้ก่อผนัง บ่มด้วยไอน้ำ โดยมีส่วนผสมของทรายและปูนขาวเป็นวัตถุดิบหลัก - ปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ประเทศอังกฤษ
AYLSWORTH ได้คิดค้นโดยการเพิ่มฟองอากาศในเนื้อวัสดุ ทำให้มีน้ำหนักเบาโดยใช้ผงโลหะ ( Metallic Power) เป็นตัวทำปฏิกริยาทางเคมี - ปี ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) ประเทศสเปน
ERIKSSON ได้นำมาพัฒนาโดยรวมวิธีอบไอน้ำและเพิ่มฟองอากาศเข้าด้วยกันในเนื้อวัสดุก่อผนังเข้าด้วยกันในเนื้อวัสดุซึ่งเป็นผลทำให้ได้วัสดุก่อผนังที่เบาและมีความแข็งแกร่งสูง ซึ่งดีกว่าอิฐก่อผนังชนิดอื่นๆในโลก การผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ – อบไอน้ำได้ถือกำเนิดขึ้นและพัฒนามาจนถึงปี 1929 (พ.ศ. 2472) - ปี ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) ประเทศเยอรมัน
ในช่วงสงครมโลก ได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นรูปแบบของเครื่องจักรซึ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ อบไอน้ำ สำหรับซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสำนักงาน ที่เสียหายจากสงครามและต่อมาเป็นที่นิยมอย่างมากในแถบยุโรป อเมริกา และเอเซีย - ปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ประเทศไทย
ด้วยประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้นักลงทุน แต่ทว่า งานก่อสร้างในประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านการควบคุมการผลิตอิฐก่อผนัง ดังนั้นผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงค้นพบการแก้ปัญหาในการก่อสร้างและลดความล่าช้าในการส่งมอบงานให้ตรงตามกำหนดเวลา ด้วยการซื้อลิขสิทธิผืการผลิต และเครื่องจักรจากประเทศเยอรมันนี จากผู้ผลิตชั้นนำของโลก คือ HEBLE YTONG และ WEHRHAHN เพื่อผลิตสินค้าออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2539 – 2540 ตามลำดับ - ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยมีความนิยมคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ – อบไอน้ำ สูงมากขึ้นจึงมีผู้คิดค้นคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ (ไม่อบไอน้ำ) มาทดแทน แต่ไม่เป็นที่นิยมในตลาด เพราะคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ที่มา: บทความจาก บริษัท ไทยไลท์บล็อคแอนด์แพเนล จำกัด
There are no reviews yet.